วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

ลูกอมผ่าตัดกับความรักแบบหมาๆ



หมาฉันชื่อลูกอม วันก่อนลูกอมไปผ่าตัดที่โรงพยาบาล เพราะลูกอมเป็นไส้เลื่อน โรคนี้ก็เพิ่งรู้จัก มันเกิดจากการฉีกขาดของกล้ามเนื้อก้น ทำให้ของเหลวหรือในกรณีที่ร้ายแรงก็จะเป็นอวัยวะอื่นๆ เช่าลำไส้ หลุดออกจากที่ทางของมันมาอยู่ในช่องนี้ ซึ่งมองจากภายนอกเป็นเหมือนถุงน้ำที่ย้อยออกมา

ลูกอมไม่ชอบไปหาหมอ ไปฉีดยาทีไรมีอาการเครียด แสดงออกโดยการเห่ากรรโชกทั้งคน ทั้งหมา คืนก่อนผ่าตัดลูกอมถูกขังในกรงตั้งแต่สองทุ่ม งดอาหาร งดน้ำ กลางคืนมีหอนมาเป็นพักๆ คงจะเซ็งและเหงา ตอนเช้าเอามันมาผูกไว้หน้าบ้านรอเวลา มันก็คงหิวน้ำ เครียด เพราะคงรู้ว่าวันนี้ต้องเจออะไรสักอย่าง มาถึงโรงพยาบาล ก็มาเจอหมาหมู่เจ้าถิ่นแถวนั้นห้าหกตัว เห่ากรรโชกใส่มันอีก วันนั้นจึงเริ่มต้นไม่สวยสักเท่าไหร่ กว่ามันจะเงียบลงได้ เกือบครึ่งชั่วโมง แถมต้องมาแอบอยู่ในห้องตรวจแคบๆ เพราะกลัวมันจะวุ่นวายหมาแมวตัวอื่นๆที่เขามารักษา ปากก็ถูกมัด เห่าก็ไม่ได้ ความอุ่นใจอย่างเดียวของลูกอมคงจะอยู่ที่มันเห็นว่าแม่มันอยู่กับมัน คอยปลอปให้หายกลัว คอยบอกมันว่าไม่เป็นไร

น่าสงสารชีวิตหมาอย่างมัน เจ้าของจะเอามันไปทำอะไรมันก็จำยอม ทั้งๆที่กลัว เครียด จนถึงขนาดโดนยาสลบปุ๊ป
น๊อคหยุดหายใจไปตั้งห้าหกนาที ฉันใจกระตุก นึกว่าจะเอาหมามาโรคฆ่าสัตว์เสียแล้ววันนี้ หมอเองยังตกใจ รีบปั๊มหัวใจ ให้อ๊อกซิเจน พอลูกอมหายใจอีกที หมอรีบยื่นหน้าจากในห้องมาบอกฉันว่า มาแล้วค่ะพี่ แต่ก็ยังต้องรอให้มันหายใจเป็นปกติอีกพักใหญ่ๆ กว่าหมอจะเริ่มผ่าตัดได้


นั่งรอมันออกมาจากห้องผ่าตัด นึกคิดไปต่างๆนาๆ ความรัก ความไว้ใจที่หมามีต่อเรานั้น มันเต็มเปี่ยม ไม่มีเคลือบแคลง มันไม่รู้เลยว่าชีวิตมันอยู่ในมือของเรา เราจะเลือกให้มันผ่าตัด หรือรักษาตามอาการไปเรื่อยๆ หรือปล่อยทิ้งไว้ มันก็ต้องยอมรับ ฉันไม่มีลูก ไม่เคยรู้ถึงการที่ต้องรับผิดชอบชีวิตคนอื่น แต่ที่จริงถึงเป็นลูก เราก็ไม่ต้องรับผิดชอบแบบเต็มร้อยอย่างนี้ เพราะลูกบางทีก็มีขัดขืน ไม่เชื่อฟัง โดยเฉพาะลูกที่เป็นผู้ใหญ่ เขายิ่งมีความคิดของตนเอง ซึ่งพ่อแม่ควรเคารพ แต่หมามันไม่แม้แต่จะระแวงเจตนาของเจ้าของ มันไว้ใจแบบไร้ความสงสัย มันผูกชีวิตของมันไว้กับเราโดยสิ้นเชิง(หมา) นี่ล่ะมั้งที่ทำให้หมาเป็นสัตว์เลี้ยงที่คนรักมากที่สุด มันรักเราและเชื่อเรามากเหลือเกิน

ในละครของเชคสเปียร์เรื่อง A Midsummer Night’s Dream หญิงสาวชื่อเฮเลนน่าบอกกับดีมิทรีอัส ชายหนุ่มที่ตนหลงรักอยู่ข้างเดียวว่า “I am your Spaniel: and Demetrius, The more you beat me, I will fawn on you: Use me but as your spaniel, spurn me, strike me, Neglect me, lose me; only give me leave, Unworthy as I am, to follow you.” ความรักของเฮเลนน่าไม่ผิดอะไรกับความรักแบบหมาๆอย่างลูกอม คนที่มีความรักแบบหมาๆจะเทิดทูล ยอมตามคนที่ตนรักในทุกเรื่อง ยอมเป็นทาสใจทาสกาย มีความสุขเมื่อเขาอยู่กับตัว เขาไปไหนก็อยากจะตามไปทุกหนแห่ง จะไปลงนรกตกเหวที่ไหน ก็ไม่เคยปริปาก

              นายเชคสเปียร์นี้สำคัญนัก เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ เขียนโคลง เขียนบทละครสะท้อนประสบการณ์ของคนซึ่งข้ามพรมแดน ข้ามวัฒนธรรม ดังนั้นคนอ่านจะเป็นชาติใดภาษาไหน ก็เข้าถึงเชคสเปียร์ได้ และในกรณีนี้ต้องยกให้ในแง่ที่เขายังเข้าใจความรู้สึกของหมาได้อย่างลึกซึ้ง ถึงได้ใช้การเปรียบเปรยความรักแบบหมาๆของเฮเลนน่าได้อย่างเห็นภาพชัดเจน ประวัติของเชคสเปียร์นั้นรู้กันน้อยมาก แต่อ่านที่เฮเลนน่าพูดกับดีมิทรีอัสแล้ว ฉันอยากจะคิดว่าเชคสเปียร์ต้องมี ลูกอม” ในชีวิตแน่

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สิ่งที่ง่ายแต่ทำไมเข้าใจ(จริงๆ)ยาก



วันนี้ไปส่งเพื่อนที่มีเรื่องไม่สบายใจ ไปกราบและฟังธรรมจากท่านวรบูรณ์ หวังว่าถ้ามีบุญและปัญญาไม่บอดมากจะได้อะไรกลับมาคิด และเป็นแนวทางในการขจัดทุกข์  ท่านฟังปัญหาของเพื่อนเราแล้วท่านก็นั่งคิดอะไรสักพัก
จนบรรยาการออกกระอักกระอ่วน มีคนเข้ามาฟังสมทบอีกสองกลุ่มใหญ่ จนนั่งกันเต็มบ้าน(กุฎิ)ของท่าน ท่านเริ่ม
พูดโดยไม่เจาะจงถึงปัญหา แต่ท่านเริ่มจากจุดเริ่มต้น เริ่มจากศูนย์ คืออธิบายว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

สรุปความว่าพระพุทธเจ้าค้นพบวิธีพ้นทุกข์ซึ่งเป็นวิธีที่หลุดพ้นแบบเบ็ดเสร็จ ถ้าเราไปจนถึงปลายทางนี้ก็จะ จบ จริงๆ จะว่าง ไม่เหลืออะไรอีกต่อไป ทำไมต้องจบแบบสิ้นซาก นั่นเพราะถ้าจะแก้หนึ่งปัญหา แบบที่เราเข้าใจ เช่นเกลียดเจ้านาย ลาออกไปหางานใหม่ ปัญหาเก่าแก้ได้ แต่ต่อไปก็จะมีปัญหาอื่นมาอีกเรื่อยๆ แก้ปัญหาด้วยวิถีทางโลกแบบนี้ ท่านว่าโง่ เพราะมันไม่ใช่ปัญหาจริง มันไม่ใช่แม้แต่ปัญหาด้วยซ้ำ เพราะเราเองสร้างให้เป็นปัญหาด้วยใจของเราเอง ที่เราเกลียดเจ้านาย ความเกลียด ในความเป็นจริงไม่มี เราเองสร้างขึ้นมาในใจ เราเรียกมันว่าความเกลียด เราเกลียดเจ้านาย ที่จริงเราเองนั่นแหล่ะ สร้างปัญหาขึ้นเอง ปัญหาหรือทุกข์แบบนี้ ท่านว่าไม่ใช่ปัญหาหรือทุกข์จริง (มีชื่อบาลี แต่อย่าจำเลย เดี๋ยวก็ลืม) ทุกข์จริงคือสิ่งที่ เราเปลี่ยนไม่ได้ ตัวอย่างคลาสสิคสุดคือร่างกายที่เป็นโรค เหี่ยว แก่ของเรา อันนี้ทุกข์จริง ไม่มีทางเปลี่ยนได้ มีทุกข์ก็ต้องยอมรับ อยู่กับมันไปให้ได้ อันนี้ทำให้นึกถึงเจ้าคุณนอ ท่านเป็นมะเร็งใช่ไหม ก้อนเบ้อเริ่มอยู่ที่คอ ขนาดท่านปฏิบัติขนาดนั้น ท่านก็หนี หรือแก้ทุกข์นี้ไม่ได้ท่านก็อยู่กับมัน

ดังนั้นอย่าไปลุ่มหลงอยู่กับทุกข์จริงบ้าง ประกอบสร้างขึ้นมาเองบ้างเหล่านั้นเลย มาปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์พ้นทุกอย่างไปเลยดีกว่าจะถึงสุดทางไม่ถึงอย่าไปกังวล อย่าไปคาดหวัง ขอให้ปฏิบัติ  และที่สำคัญที่พระอาจารย์ที่เคารพอีกท่านคือท่านนันท์ก็เคยย้ำว่าทุกข์นั้น ไม่ใช่จะข้ามได้ด้วยความรู้ การคิด การไตร่ตรอง ไม่ได้มาด้วยการอ่านตำรา การใช้เหตุผลแบบตะวันตกซึ่งกลายมาเป็นวิธีเข้าใจอะไรๆในชีวิตของคนไปทั่วโลก เพราะความรู้ การคิดไตร่ตรอง เหล่านี้ก็เป็นสิ่งประกอบสร้างของมนุษย์เหมือนกัน ไม่ใช่วิถีธรรมชาติ ซึ่งก็คือไม่ใช่วิถีธรรม ฉันคิดว่าจุดนี้สำคัญมาก ก่อนจะเรียนรู้อะไรๆทั้งหมด ต้องเข้าใจจุดนี้เสียก่อน

การรู้ธรรมหรือการปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นนั้น ง่ายๆสามคำ ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีลไม่ต้องไปขอจากพระ ไม่ต้องรักษาศีล ศีลคือร่างกายของเรา รักษาศีลหรือภาวนาคือให้รู้ตัวว่าตัวเราเป็นก้อนๆหนึ่ง มีหัวมีตัว มีแขนขา ประกอบไปด้วยกระดูก เลือด น้ำเหลือง หรือธาตุทั้งสี่ เป็นก้อนเนื้อเลืดดน้ำเหลืองเอ็นกระดูก นั่งอยู่ ยืนอยู่ ก็ให้รู้ตัว นี่แหล่ะคือรักษาศีลแล้ว เมื่อไหร่หยุดรู้ตัว สติไม่อยู่กับก้อนนี้ คิดโน่น กังวลนี่ก็ให้รู้ว่าสติกำลังไปเที่ยว ไปในที่ๆไม่ควรไป เรียกมันให้กลับมาอยู่ที่กาย คอยทำอย่างนี้อยู่ทุกเวลานาที มันจะหนีไปเที่ยวบ่อยๆก็ไม่ต้องกังวลเพราะสติมันแรด ชอบเที่ยว ไม่ค่อย ชอบอยู่กับกาย มันยาก ต้องใช้ความเพียร แต่ท่านว่ามันไม่เหลือบ่ากว่าแรง แต่ละวันฝึกให้ได้มากเท่าที่จะทำได้

เมื่อฝึกได้มากพอ ไม่ต้องถามว่าเมื่อไหร่ มีเกณฑ์อะไรวัด ฝึกไป พอได้ที่ก็จะเริ่มมีสมาธิ พอสมาธิมีมากพอ เมื่อนั้นปัญญาจึงจะเกิด ปัญญานี่ไม่ใช่สติปัญญาความฉลาดทางโลก แต่เป็นปัญญาจากภายในจิตที่สงบและจะสามารถหยั่งรู้ถึงเหตุแห่งทุกข์และวิธีกำจัดทุกข์ ปัญญาความเข้าใจความจริงตามธรรมชาติ ตามที่เป็นจริง จะเกิดขึ้นตอนนั้น สิ่งนี้ ขอย้ำและท่านก็ย้ำ ไม่ได้เกิดจากความรู้ความฉลาดทางโลก ต้องได้มาด้วย ศีล สมาธิ ต้องได้มาด้วยการปฏิบัติเท่านั้น การปฏิบัติท่านว่าที่จริงไม่ต้องมีแบบแผน วิธีการพวกนั้นเป็นแค่อุบาย เรารู้อย่างนี้ จะไปโง่ติดกับอุบายทำไม ปฏิบัติง่ายอยู่กับตัว ทำได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ คือไม่ต้องมีข้อแก้ตัว

พวกเราคิดกันในใจ (และท่านก็ตอบออกมาดังๆโดยไม่ต้องถามให้มากความ) ว่าเฮ้ย..งั้นปัญหาที่เรามี ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับผู้อื่น เช่นน้องติดยา เราเป็นทุกข์ เรากังวลแทนเขา เราไม่ดูดายไม่ช่วยเขา เราเป็นพี่ที่ห่วยสิ เราไม่รับผิดชอบสิ เราเห็นแก่ตัว เราเอาตัวรอดคนเดียวท่านตอบว่าก็นั่นเป็นปัญหา เป็นทุกข์ของเขา ถ้าเขาไม่แก้ทุกข์ของเขาเอง สิ่งที่เกิดกับเขาเป็นไปตามความจริง เป็นธรรม เป็นธรรมชาติเราต้องเคารพโดยการยอมรับธรรมชาติ มันเป็นวิถีของมันอย่างนั้น อย่าไปคิดคัดค้านธรรม อย่าลบหลู่ธรรมชาติด้วยความคิด
เพราะมันไม่สำเร็จหรอก

ฉันว่าการเข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ต้องบอกตัวเองก่อนว่าเข้าใจไม่ได้ด้วยความเข้าใจ ลอจิกแบบทางโลก มันเป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้งกว่าตรรกะ ทฤษฎีที่ซับซ้อนอันไหนๆที่มนุษย์สร้างขึ้น มันเข้าด้วยจิตลึกและจะเข้าใจได้ด้วยทางเดียว เรียกทางนี้ว่ามรรคก็ได้ทางสายนี้พระพุทธเจ้าบอกไว้ว่าเป็นหนึ่งเดียว เป็นเอก เมื่อใดยังไม่ปฏิบัติ ก็ยังไม่ได้แม้แต่ก้าวเท้าแรก ฉันคิดอีกด้วยว่าในศาสนาอื่น เขาเรียก ทาง หรือ มรรคนี้ว่าความเชื่อ ความเชื่อลึกๆข้างในจะพาให้ไปถึงพระเจ้า ซึ่งก็อาจจะคือความจริงนั่นเอง ตะก่อนฉันหลงคิดว่า
ถ้าเรียนจากตำรา ศึกษาว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ฉันจะเข้าใจได้ แต่มันไม่ต้องใช้สมอง มันใช้จิตต่างหาก

ฉันว่าเราถูกสอนแบบคลาดเคลื่อน วิธีที่เราถูกสอนมันไม่ได้ทำให้เราเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เข้าใจอะไรอย่างถ่องแท้ในโลกใบนี้มีครูเป็นล้านๆ มีวิธีสอนเป็นหมื่นๆ แต่วิธีสอนพระธรรมต้องเข้าถึงแก่น ใครจะคิดอย่างไรฉันห้ามไม่ได้ แต่ท่านวรบูรณ์ เป็นครูธรรมของฉัน และท่านเป็นหนึ่งในพระสองรูป ที่ได้สอนธรรมให้ฉันอย่างแท้จริง

ขอเอาธรรมแสนง่ายนี้มาฝากเพื่อนผู้ร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน ชีวิตก็มีอยู่เท่านี้ เอาตามความเป็นจริงละกันฮะ 

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555


การแพทย์ทางเลือก เลือกอะไร?


พักนี้มีกระแสกินยาไข่ดองน้ำส้มสายชูหมัก (รายละเอียดหาอ่านเอง) ก็เลยนึกอยากลองมั่งเพราะไขข้อ
กระดูกเอ็นต่างผุพังเปื่อย ได้มาจากโอโมหนึ่งลูกที่เขาดองได้ที่แล้ว จากไข่ใบเล็กๆ
ดองไปห้าวัน มันดูดเอาน้ำส้มเข้าไปพองโตมาอีกเกือบเท่าตัว แกะไข่ กลือนลงคอได้สามอึกใหญ่
ทั้งเปรี้ยวเหม็น คาว พะอืดพะอมไปอีกครึ่งวัน เฮ้อ..รักษาด้วยยาธรรมชาติ ตำรับจีนโบราณ เลี่ยงยา
ฝรั่งของแพทย์สมัยใหม่ ทางเลือกแบบนี้ มันไม่ง่ายเลย มานึกๆย้อนกลับไปถึงวิธีรักษาแบบแพทย์
ทางเลือก ล้วนแต่เรื่องไม่หนุก ฝังเข็มที่ก็เครียดมันไปทุกเข็มที่ทิ่มแทง (ไม่เข้าใจ คนไข้บางคนนอน
ฝังเข็มหลับตาพริ้ม มันอะไรกัน) นวดไทยก็ถูกจับหักแข้งพันขา ตัวงอแทบจะพับตรงกึ่งกลาง
ยึดเส้นที นึกว่าขาฉีกไปแล้ว โดนจับเส้นที โห..เกิดมาเป็นคน ไม่เคยเจ็บทรมานอย่างนี้ กินยาต้ม
อมสมุนไพรก็ขื่นขม ฝาดและบาดคอ ท้ายสุดอะไรๆไม่ได้ผล อ้าว..หมอบอกต้องออกกำลังกายขยาย
ปอด สร้างกล้ามเนื้อเอาเอง ต้องมีวินัยกายบริหารทีเป็นสิบเป็นร้อยท่า ขี้เกียจก็ต้องลุกไปว่ายน้ำสีผมทำ
มาจ๊าบๆ โดนคลอรีนทีสองทีผมกลายเป็นสีกระดาษทราย ตั้งใจจะเปรี้ยวจะทันสมัยกับเขาซะหน่อย
ก็ต้องจ๋อยไป

หรือทางโฮมีออพาธีซึ่งไม่ถึงกับเจ็บตัว ก็ยังต้องแลกมาด้วยสุนทรียะบางอย่าง กินเรมีดี โอเค ไม่เจ็บปวด
กินแล้วไม่ขื่นขม นั่งรอร่างกายปรัปสมดุลของมันเอง อ๊ะ..นีกว่าเจอทางสะดวก แต่เฮ้ย..ต้องแลกด้วยอะไร
หลายข้ออยู่ เรมีดีไม่ชอบกลิ่นฉุน เพราะฉะนั้นเครื่องหอม สารเคมีต้องขว้างทิ้ง น้ำหอมที่ไม่เคยห่างกาย
ตอนนี้จำชื่อไม่ได้แล้วด้วยซ้ำ สบู่อาบน้ำเลิกไป ใช้มะขาม วันไหนคันเกา อาบน้ำทีก็แสบๆ ยังกะถูกลงโทษ
โลชั่นไม่ต้องถามถึง จั๊กกะแร้ของอันตรายกลายมาเป็นสารส้ม นี่ใช้มาหนึ่งแท่ง ปาเข้าไปเจ็ดแปดเดือนยัง
ไม่พร่อง มันแข็งทนดีจริง ทั้งหมดมวลนี้มีผลทางสังคมอยู่ระดับหนึ่ง เพื่อนคนใกล้ชิดต่างบ่นพรึมว่ากลิ่นตัว
ธรรมชาติไปหน่อยไหม (เออ..ธรรมชาติมากก็โดน)

อดเปรียบเทียบไม่ได้กับการรักษาแบบยาฝรั่งแพทย์สมัยใหม่ พวกนี้เขาเน้นควบคุม ใส่บังเหียนธรรมชาติ
ยาแก้ปวดไม่ขื่น กินปุีปหายปวดป๊าป ไปดูแผงขายยาเมืองมะกัน เหมือนทำข้อสอบ ต้องเลือก ก ข ค
จะเอายาแบบขาวๆ หรือเป็นเจลแถบกลืนง่าย สะดวกไม่ระคายคอ โห..นอกจากหายเจ็บ สิ่งที่ใช้รักษาก็
แสนจะอภิรมณ์จะกินแคลเซี่ยมรึ ลืมไปเลยไอ้เม็ดเป้งๆ กลืนทีไรไปติดอยู่ที่คอหอย เดี๋ยวนี้พี่กันแกทำเป็นชอกโกแล็ท
เป็นคำๆหรือเป็นแยลลี่สายรุ้ง เคี้ยวหนึบๆแสนอร่อย (เผลอๆกินเป็นหนมได้) ยานีโอสปอรินเป็นครีมใส่แผลสดแผลมด
สัตว์กัดต่อย ประมาณยาหม่องบ้านเรา ยังแถมแก้ปวดเข้าไปด้วย ชาตินี้จะไม่ให้รู้สึกเจ็บปวดอะไรกันแม้แต่น้อยเลยหรือ
ดูโฆษณายาไมเกรน เขาใช้สโลแกนว่า จะทนปวดไปใย ชีวิตมีแต่เรื่องหนุกหนาน ชื่นบาน ความเจ็บความปวดเป็น
เรื่องต้องเลี่ยง เจ็บคือไม่ดี เจ็บดีไม่มีในโลกหมอตะวันตก

มีเพื่อนหลายคนไม่ทนแล้วกับการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก เพราะเลือกปุ๊ป ต้องทำการบ้าน ต้องอดและทน
ต้องลุกขึ้นมาทำการรักษาด้วยตัวเอง มันงานหนัก มันต้องรับผิดชอบเยอะมาก บ่อยครั้งคนมองไม่ทะลุจุดนี้
คิดว่าอ๊ะ..เลือกแล้ว เลือกไม่กินยาเคมี แต่ไม่ได้เตรียมตัว เตรียมใจที่จะเวิคฮาทฟอร์อิด นอกจากต้องลุกขึ้นมาปฎิบัติตน
ต่างๆนาๆแล้ว ยังต้องศึกษาหาข้อมูล แถมตัดสินใจด้วยตัวเองว่าเจ็บไหน จะรักษาด้วยวิธีอะไร ต้องหัดตั้งคำถาม
เพื่อให้เข้าใจสภาพโรคของตัวเอง ถามอากู๋ ถามหมอทางเลือก งานของหมอทางเลือกคือหาคำตอบที่จะนำไปสู่การ
รักษาที่มีประสิทธิผล งานของคนไข้ทางเลือกคือการตั้งคำถามเพื่อความเข้าใจ เพื่อจะได้ตัดสินใจว่าจะประพฤตืปฎิบัติ
ตนอย่างไร การรักษาแบบตะวันตกใช้สารเคมี คนไข้สบายแต่ไม่หายขาด ไม่หายในองค์รวม ไม่เข้าใจสภาพ หรือโรค
ของตัวเอง เจ็บอีกก็ต้องกลับไปซ้ำอีกเรื่อยไป การรักษาแบบแพทย์ทางเลือก คนไข้ต้องทน ต้องอด ต้องมีความเพียร
ไม่สนุก ไม่สบาย ยาก แต่เวลาหายขึ้นมา หายนาน หายถาวรเพราะคนไข้เข้าใจโรคของตัวเอง สามารถหาวิธีป้องกัน
สามารถปรัปการใช้ชีวิต ให้ไม่เกิดโรค หรือให้ทรมานกับมันน้อยที่สุด มีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตอย่างลึกซึ้ง
ทำไปทำมาถึงขั้นเป็นปราชญ์น้อยๆ รักษาทั้งกายทั้งใจ

พอเห็นภาพแล้ว ก็จงเลือกเถิด จะเลือกอะไร  

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555


Walking the Inka Trail

by Wilailak Saraithong on Sunday, August 19, 2012 at 11:33am ·

Aug. 13, 2012

The Inka trail starts at kilometer 82 from Cusco, from here the train goes on to Aquas Galientes, the last town before Machu Picchu.  The train goes along the Urubamba River but the Inka trail goes around the mountains on the other side from the river.  The first day we walked mainly on a dirt path through a few villages. Lunch was a surprise, there was a dining tent with tables and chairs; we sat down to lunch of soup and main course served by a cute uniformed butler.  Meals were like this through out the trek.  

Inka ruins dot this valley which the Inkas call the Sacred Valley.  The Urubamba River snakes through the low, steep valley.  The Inkas believed that the river was a reflection of the Milky Way in the sky.  In the morning we spotted a riuns called Q'Anabamba far on the other side of the river.  Many of the ruins such as this one were stations to check the comings and goings of the people or storage for food, clothes, or weapons.


Later in the day and high up by a lookout, we viewed another site called Q'Entimarka (Patallaqta).  All the Inka place names are in Quechuan language, the language of the Quechua, which are Andean people.  The Inkas, on the other hand, were royalty of these people, so mark the difference.  The Inka towns were self-sufficient agricultural towns populated by royalty, priests, astronomers, engineers, and other highly knowleageable persons.  They usually consist of residence areas, sometimes temples, other scientific buildings such as sun dial (which tells the days and months raher than the time of day), and terrace agricultural areas.  


The first day was a nice walk and we camped a little high up from the bottom of the valley.  The camp site had a public toilet but no shower.  By the time we reached the camp, all the tents were pitched and the sleeping pads laid out in the tent.  We each got a bowl of water right by our tent for wash up, another surprise luxury. Maximilian was the wash guy through out the trek.  He would bring the water, had liquid soap and paper towel handy for us to dry our hands.  After the delicious dinner, I slept from 9 to 11 when I went out to the toilet and after that sleep failed me, maybe it was the altitude ?  
Q'Entimarka (Patallaqta)

Aug. 14, 2012

Today was the toughest walk of the 4 days, and the most difficult walk for me because we had to go through Dead Woman Pass at 4,200 meters.  I found the name of the pass a very bad omen as I was the last one to go through that pass.  Higher than 3,500 meters, I had hard time breathing.  We started the climb after breakfast, around 6:30-7:00.  The terrain was high plateau, the mountains were mighty and treeless, their peaks piercing through the clouds.


Apparentaly the name of the pass comes from the contour of the pass from the other side, it is supposed to look like a women lying with the breats jutting up, frankly I was able to imagine only the one breast.  But really why not Lying Woman Pass, noone has to be dead.  After we finished climbing up, it was going down on the stone steps, today everyone had knee support on.  On this day we had not one pass but 2, the second one came right after we reached the bottom of the first, this one was 3,800 meters, not as bad but after 3,500 I was puffing away again.  Right before we reached the second pass, there was another nice riuns called Runkuracay.  It looked like a fortress but the guide told us that along the Inka road there were stations such as this one for storage.  The Inkas used the trail for communication in the former times.  There would be messengers/runners who took messages between Cusco to Machu Picchu.  It took these messengers 5-6 hours to run up and down the mountains and completed what we needed 4 days to do.  The ruins along the Inka trail served as storage for food, clothes, and weapons for these messengers as well. 

Dead Woman Pass
Runkuracay

Before we reached our second camp, we past 2-3 more ruins, but there was no time to visit them as today was a long day and we didn't want to reach the camp in the dark.

Phuyupatamarka

This camp was on top of a smaller mountain and was surrounded by 360 degrees of higher peaks.  We had the whole sky to ourselves and the stars were pretty spectacular at night.  It was cold outside but we were warm in our tent and I slept much better this night.

Aug. 15, 2012

The third morning, again we woke up at 5:30, apparently to skip mosquitos which come with the sun.  Today it was a very nice and not-tiring walk.  We were now on the other side of the mountains where the climate was more rain forest.  But as now was a dry season, we didn't encounter any rain.  There were trees and beautiful plants to behold along the path which was leveled by the side of the mountains.  We were literally walking by the clouds, it was wonderful.

By our camp, only 5-minute walk, there  was the beautiful Winaywayna or Little Machu Picchu.  It had steep agricultural terrace and some stone buildings.  The place was tugged by the side of a mountain and was peaceful.  This was the last camp site before Machu Picchu and it was crowded.  From our tents looking out, we saw the Urubamba River down below and was able to see part of the town of Aquas Galientes.


Winaywayna

Aug. 16, 2012

Today was the day we would reach Machu Picchu.  We had to wake up at 3:30 and walked 5 minutes to the check point to wait until 5:30 when they opened.  Then it was a nice 2-hour walk to the Sun Gate.  This was a structure on top of a mountain and it was the first location where Machu Picchu could be viewed.  It was right down there at only 2,800 meters, with the morning clouds that sometimes obscured the whole structure.  The site of Machu Picchu from the Sun Gate is what most trekkers treasure; it is the angle we often see from magazines or tourist brochures.  If you visit Machu Picchu by train, you don't get to see this view with your own eyes, unless you walk up more than 1-hour walk to near the Sun Gate.



Machu Picchu, from half way between the Sun Gate and the site.

We reached the site at around 9 am.  Had a tour of the place for 2 hours.  It is undertood that Machu Picchu was a temple of the sun (there was a temple of the moon, temple of the rainbow with 7 windows, etc).  On solstice the first ray of the sun passes through the Sun Gate to the central stone in the main temple.  The location of the Inka towns were also very well planned astrologically.  They also take up shape of certain sacred animals such as condor, puma (Cusco), crocodile (the main elongated part of Machu Picchu), etc.  The Inka's knowlege was far beyond peoples of their times and that made them godlike rulers.  The conquest of the Spaniards over the Inkas put an end to this magnificent civilization, but that is totally another story, no?

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

Social Values, Stereotypes, or plain being Stigmatized?

Today a colleague asked me to look at the questions she wrote for an exam.  I assumed from the questions it was an exam on philosophy or something akin to it.  The questions were about the walk of Ajarn Pramuan Pengchan, a former philosophy teacher at Faculty of Humanities, CMU, who became famous for walking the country with nothing on him.  One question asks why Ajarn Pramuan did not carry any money on his "walk of life"?

After I got home, the question was still in my head.  What bothered me I learned was that I was comparing him to any Thai woman who would want to do the same kind of walk.  What is a chance of a Thai female walking through the country without money, without things which we usually "carry" in order to survive in our life?  I think it would be very difficult for a woman to walk the country by herself, without any resources on her.  

First of all, would it be safe for her to go any road she wants to? What if she is walking at night?  Wouldn't it be risky for her?  She could be hurt, raped or even killed? If such things happen, people wouldn't be surprised.  But Ajarn Pramuan, who is a man, can do this.  He has not much to worry in terms of safety.

Secondly, how could she feed herself?  Of course she can go to any door and ask.  But what would this look like to the host?  A deranged woman or an imposter?  Would they trust her enough to open their door to hear her story?

Thirdly, even if the host is brave enough to open their door and listen to her story--I'm contemplating about life through my walk--what would they think of her?  Whose wife is this?  whose daughter?  What a pity?  Something must be wrong with her, with her family, with--there's always something that goes wrong.  Who would take her seriously, the way people take Ajarn Pramuan?  Who would tolerate or accept her idiosyncrasy? Who would indulge her?  When a man does it, he is unique, he is special, he is very deep.  But would people say the same thing for a woman?

Don't get me wrong, I love what Ajarn Pramuan accomplishes through his idea of walking.  I'm just using his case to prove a point about our perception of what are expected of Thai women.  I don't think in general Thai women are oppressed but certain images of Thai women and the level of acceptance of what we do still fall short.

If you love your mother, your sisters, your aunts, your female teachers, remember that they, like their male counterpart, can be strange (because they are interesting); they can be stubborn (because the are self-confident); they can be out-of-this world (because they are creative); they can be emotional (because they are considerate), and they can make your life fulfilled--because they are women!


วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Selfishness

Today I had a British visitor in my "British and American Cultures" class and students were asking him questions to learn more about the British culture. One student asked about how older people were treated in England these days and our guest said not very well as they were usually put in the home and most often were not visited much by their children. The student asked why that was the case and our visitor said he thought people in the modern urban environment were quite selfish; they had no time to spend with their elders or they didn't want to. They may be more occupied with work, hectic lifestyle, technology, etc.



This got me thinking about being selfish. As a matter of fact I have been thinking about being selfish for some time now. Is it true that people in this age and time are more selfish than in the past? Are there legitimate reasons why we become more selfish? Are we to blame for being selfish? These days we want more time to ourselves, to Facebook (ironically alone but with others), to play computer games, to chat (again by ourselves yet with others), to do our errands, to finish work (after work hours), etc. We dread it when relatives from other provinces visit unannounced; this is very inconvenient, we say to ourselves, it's a lot of work to have relatives over at your house. Is it true that modern lifestyle excludes us from real people?



What surprises me is not that we may be more selfish but that it is quite easy for us to be selfish. We are comfortable being selfish. Some religious beliefs might contribute to us being ok with being selfish. Does not Buddhism teach us to get rid of all burdens--even our children are seen in a sense as burdens; they trap us with the secular joy. Buddhism teaches us to free ourselves--each individual person--from all the burdens and worldly traps, individual, not you and your family, or you and your spouse. When you leave this world you go alone, it is only when you live you are with people in your life.



In essence, we are more "individual" than we can imagine. We are all "islands," separate entities from others around us. The human ties we cultivate through our life are thus rather fictional; we create them because that's what our parents, our teachers, our society teach us to do. It is what human beings have been doing since the days of the cave men. Anthropologists, scientists, and many other --ists say human beings are social animals, we must live in flocks. They tell us that social ties are essential to our well beings. Isn't all this too confusing? Spiritually we should be alone (selfish) while socially we should be part of groups.



I might be crazy but I think these opposite ideas of how we live life is the origin of our headaches. We get unhappy or worried when we miss out on group activities or ones which involve people. We feel bad when we spend time by ourselves because we use the social rules as our criteria. If we use spiritual rules as our guides, we would feel natural to be alone, to care for only ourselves--to be selfish. I know this is scandalous, this is plain selfish. But hey, I am only a very confused human being.


February 1, 2011

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

Thongsiri Vihara Makes News






Less than a week ago we saw a Facebook post about an 100+ years old vihara (main hall) of a remote village temple called
Thongsiri under a threat of being demolished. Most people were concerned because it was ancient and beautiful in a simple way. The post said the villagers wanted to have it torn down on February 4, 2011. Being advocates of cultural heritage, I and 3 friends drove to the temple this afternoon (Jan. 30, 2011). We found the pleasant little temple nestled in a small valley. The whole compound is a little over one rai of land. In a hall by the south gate we saw villagers, middle-aged to elderly, working on the preparation of a northern ritual of life blessing (suebchata) to be held on February 4, 2011. The abbot greeted us and
started talking about the Facebook post with us. Apparently the post has stirred interest from the authority and now the demolishing plan is being halted until after the discussion between Department of Fine Arts and the local people scheduled
for February 3, 2011.

The vihara is actually very small and its construction was completed only about 50 or so years ago. The claim that it was 130 years old is based on perhaps the first days bricks were laid on the premise, probably for PR purpose. The architecture is not that outstanding but it is simple and thus charming. Of course I would want something this beautiful to stay but the story we heard from the abbot was also heart-rending. After I heard the story, I don’t know what to think or which side to take up.

The village consists of devout Buddhists and the temple is alive with people making merits on a regular basis and holding on tightly to Buddhist rituals. At the gate, we saw slippers being left by it, outside of the temple grounds--a tradition we don’t see anymore in town temples. As a matter of fact, I learned today that Buddhists in the former times usually did this. Nowadays we leave our shoes before we enter temple buildings but not outside the temple. The villagers love their temple and their vihara. It is only because it’s in a bad shape that they decided it’s time to build a new one. This is because they need one with a better condition so that they can continue to perform religious ceremonies.

The abbot said they planned to rebuild it in the same old style and to enlarge it so they had more space (it is really a tiny vihara). What they fear is that if and when the vihara in under the protection of Department of Fine Arts, the construction might get halted from budget cut or other unexpected reasons and the villagers will end up having no hall for their ritual performances. If the vihara is being put under the protection of Department of Fine Arts, it will no longer belong to them; it will become a showcase for tourists, no longer a living vihara the way it is. We sensed and sympathized with the frustration the abbot and local people feel about this sensitive issue.

I for one can’t decide what is best for Thongsiri vihara. Yes, it is worth being preserved. But if this means the villagers will have to find a new temple, who will help them find one? Is an old building, regardless of its architectural and cultural values, as important or more important than preserving a living cultural heritage? Do we want a museum or a living temple? This is a hard question and I think both sides have to consider factors that affect the demolishing of Thongsiri vihara. Often times going by the book and overlooking people’s feelings results in sad circumstances. We promise the abbot that we will publicize his and the villagers’ view on the subject so that the public is aware of the other side of the story. The villagers working in the hall thanked us for our promise and gave us blessing. I hope that whatever the result of the meeting on Feb. 3, 2011 maybe, it is one which yields benefits for those who deserve them the most, one that both sides can “win.”